หมายเหตุสำคัญ!
เราใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา
ด้วยการคลิกที่ ‘ตกลง’ คุณได้ยอมรับการใช้คุกกี้ของเราตามที่อธิบายไว้ใน นโยบายคุกกี้
คู่เงิน EURUSD มีแนวโน้มขาขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน โดยแนวโน้มจากอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคที่สำคัญสนับสนุน และระดับแนวรับและแนวต้านที่เป็นราคาที่อาจเป็นเป้าหมายสำหรับเทรดเดอร์ แต่ทั้งนี้ ประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่จะมาถึงอาจส่งผลต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการลดอัตราดอกเบี้ย โดยขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของตัวเลขการเติบโตของงาน
เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบสูง
วันศุกร์ เวลา 15:30 น. (GMT+3) – แคนาดา: รายงานการเปลี่ยนแปลงด้านการจ้างงาน (CAD)
วันศุกร์ เวลา 15:30 น. (GMT+3) – สหรัฐฯ: การจ้างงานนอกภาคการเกษตร (USD)
วันศุกร์ เวลา 17:00 น. (GMT+3): แคนาดา: ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดย Ivey (CAD)
คู่เงิน EURUSD อยู่แนวโน้มขาขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน เมื่อรีบาวด์ขึ้นมาจาก 1.06651 ตั้งแต่นั้นมา อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างดอลลาร์ออสเตรเลียและดอลลาร์สหรัฐทำจุดสูงสุดสูงขึ้นและจุดต่ำสุดสูงขึ้นมาตลอด ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแรง แม้ว่าจะมีการปรับฐานขาลงเมื่อราคาไปถึงแนวรับที่ค่าเฉลี่ยการเคลื่อนไหวแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) ราย 20 วัน EURUSD ยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้น โดยเฉพาะ EMA 20 วันอยู่เหนือระดับ EMA 50 วัน และราคามีการซื้อขายเหนือเส้น EMA ทั้งสอง นอกจากนี้ ค่าออสซิลเลเตอร์โมเมนตัมและอินดิเคเตอร์ Relative Strength Index (RSI) ยังอยู่เหนือเส้นฐาน 100 และ 50
หากเทรดเดอร์ฝั่งขาขึ้นยังคงเป็นผู้ควบคุมตลาด เทรดเดอร์อาจมุ่งความสนใจไปที่แนวต้านที่เป็นไปได้สี่แนวด้านด้านล่างนี้ คือ
1.12000 ราคาเป้าหมายเริ่มต้นคือ 1.12000 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม
1.13078: ราคาเป้าหมายที่สองคือ 1.13078 สอดคล้องกับ Fibonacci Extension 161.8% ที่ลากเส้นจากสวิงไฮที่ 1.12000 ไปที่สวิงโลว์ที่ 1.10251
1.14302: ราคาเป้าหมายที่สามคือ 1.14302 สอดคล้องกับ Fibonacci Extension 423.6% ที่ลากเส้นจากสวิงไฮที่ 1.10073 ไปที่สวิงโลว์ที่ 1.08803
1.14825: ราคาเป้าหมายเพิ่มเติมคือ 1.14825 สอดคล้องกับ Fibonacci Extension 261.8% ที่ลากเส้นจากสวิงไฮที่ 1.12000 ไปที่สวิงโลว์ที่ 1.10251
หากนักเทรดฝั่งขายเป็นผู้ควบคุมตลาด เทรดเดอร์อาจพิจารณาแนวรับที่เป็นไปได้สี่แนวด้านล่างนี้ คือ
1.10251: แนวรับแนวแรกคือ 1.10251 ซึ่งเป็นสวิงโลว์ในวันที่ 3 กันยายน
1.09384: แนวรับที่สองคือ 1.09384 ที่แสดงจากการคำนวณแนวระดับแนวรับอัตโนมัติ (Pivot Points) รายสัปดาห์ (S2) ด้วยวิธีมาตรฐาน
1.07764: แนวรับที่สามคือ 1.07764 สอดคล้องกับสวิงโลว์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม
1.06651: เป้าหมายแนวโน้มขาลงเพิ่มเติมคือ 1.06651 สอดคล้องกับจุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นในวันที่ 26 มิถุนายน
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินที่สำคัญส่วนใหญ่ในวันพฤหัสบดี เนื่องจากนักลงทุนกำลังรอคอยรายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ สัญญาณล่าสุดของการชะลอตัวของการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะมีการลดอัตราดอกเบี้ย จากที่ประธาน Fed นาย Jerome Powell ได้ส่งสัญญาณความกังวลเกี่ยวกับการอ่อนตัวของตลาดแรงงาน แม้ว่าจำนวนการยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานจะลดลง แต่ความกลัวเศรษฐกิจถดถอยยังคงอยู่ ตลาดมีความคาดหวังในการลดอัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 25 ถึง 50 Basis ในการประชุม Fed ที่จะมาถึง
หากรายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตรแสดงการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ก็จะลดความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางจะลดอัตราดอกเบี้ย 50 Basis point ตัวเลขที่แข็งแกร่งชี้เห็นถึงเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งอาจเพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ในทางตรงกันข้าม หากข้อมูลการจ้างงานออกมาอ่อนแอ โอกาสที่จะลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 50 Basis point จะสูงขึ้น ตัวเลขจ้างงานที่แย่เป็นสัญญาณของเศรษฐกิจขาลง ทำให้ Fed ต้องลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการเติบโต การตัดสินใจของ Fed ต้องรักษาสมดุลระหว่างการจัดการเงินเฟ้อและการสนับสนุนเศรษฐกิจ
โดยสรุป ในขณะที่คู่เงิน EURUSD อยู่ในทิศทางขาขึ้นโดยมีแนวรับและแนวต้านที่ชัดเจน รายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่กำลังจะประกาศจะมีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา การเติบโตที่แข็งแกร่งอาจลดความเป็นไปได้ในการลดอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญ ในขณะข้อมูลที่อ่อนแออาจเร่งการผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้น เทรดเดอร์ควรให้ความสนใจเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญเหล่านี้ เนื่องจากอาจส่งผลต่อทั้งทิศทางตลาดและนโยบายของธนาคารกลางในหลายสัปดาห์ข้างหน้า