หมายเหตุสำคัญ!
เราใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา
ด้วยการคลิกที่ ‘ตกลง’ คุณได้ยอมรับการใช้คุกกี้ของเราตามที่อธิบายไว้ใน นโยบายคุกกี้
ตราสารอนุพันธ์มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและน่าสนใจ เริ่มต้นจากอารยธรรมเมโสโปเตเมียโบราณ ซึ่งเกษตรกรใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อประกันราคาของพืชผลล่วงหน้า การปฏิบัติเช่นนี้ได้แพร่กระจายไปยังกรีกและโรมันโบราณ โดยสัญญาที่คล้ายคลึงกันถูกใช้สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น มะกอก ข้าว และน้ำมัน รูปแบบแรกเริ่มของตราสารอนุพันธ์เหล่านี้ได้เป็นรากฐานให้กับตราสารทางการเงินสมัยใหม่ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถป้องกันความผันผวนของราคาและสร้างผลกำไรหรือค่าใช้จ่ายที่คาดการณ์ได้มากขึ้น
ในบทความของวันนี้ เราจะสำรวจวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการเข้าสู่โลกที่น่าตื่นเต้นของสกุลเงินดิจิทัล ไม่ว่าจะผ่านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ออปชั่น หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา เทรดเดอร์มีหลายวิธีในการวิเคราะห์ตลาดเพื่อแสวงหาผลกำไรที่เป็นไปได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์แต่ละรูปแบบได้ เราลองมาเจาะลึกเกี่ยวกับกลไกของอนุพันธ์แต่ละประเภท ประโยชน์ที่เกิดขึ้น และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้คุณเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าตราสารเหล่านี้กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าของการเทรดคริปโตอย่างไร
ด้วยการเติบโตของสกุลเงินดิจิทัล อนุพันธ์ได้มีการพัฒนาให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดคริปโตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งแตกต่างจากอนุพันธ์แบบเดิมที่ผูกกับสินค้าจริงหรือตราสารทางการเงิน เช่น หุ้นและพันธบัตร อนุพันธ์คริปโตช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาคริปโตได้โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่อ้างอิง ด้วยเหตุนี้ อนุพันธ์คริปโตจึงกลายเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ซับซ้อน ที่มีการนำไปใช้ในกลยุทธ์ที่ให้ทั้งผลตอบแทนสูงและความเสี่ยงสูง
เทรดเดอร์และนักลงทุนต่างใช้อนุพันธ์เหล่านี้เพื่อการป้องกันความเสี่ยง (เฮดจิ้ง) การอาบิทราจ และการเก็งกำไร เนื่องจากมีศักยภาพในการทวีคูณทั้งกำไรและผลขาดทุน ตราสารเหล่านี้ได้เปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการเทรด แต่จำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด การใช้เลเวอเรจ และการจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เราลองมาทบทวนตราสารอนุพันธ์คริปโตที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งแต่ละอย่างมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการเข้าสู่โลกของคริปโตที่มีความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
สัญญาฟิวเจอร์สคริปโต
สัญญาฟิวเจอร์สคริปโตเป็นข้อตกลงทางกฎหมายที่กำหนดให้เทรดเดอร์ซื้อสินทรัพย์ในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในวันที่กำหนดไว้ในอนาคต สัญญาเหล่านี้มีการกำหนดจำนวนหน่วยที่แน่นอน ข้อกำหนดด้านมาร์จิ้น และวิธีการชำระราคา ทำให้สามารถเทรดกับโบรกเกอร์หรือแพลตฟอร์มซื้อขายทั่วโลกได้
คุณสมบัติสำคัญ:
สัญญาออปชั่นคริปโต
สัญญาออปชั่นคริปโตคืออนุพันธ์ทางการเงินที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อ แต่ไม่ใช่ข้อผูกพัน ในการซื้อหรือขายตราสารอ้างอิง (เช่น หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ หรือสกุลเงิน) ในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในวันหรือก่อนวันที่ที่กำหนด ซึ่งแตกต่างจากสัญญาฟิวเจอร์ส สัญญาออปชั่นจะให้ความยืดหยุ่นในการตัดสินใจว่าจะทำการซื้อขายหรือปล่อยให้สัญญาหมดอายุ
คุณสมบัติสำคัญ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาของคริปโต
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาเป็นอนุพันธ์ประเภทหนึ่งที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรจากราคาสินทรัพย์ (เช่น คริปโต สินค้าโภคภัณฑ์ หรือตราสารทางการเงินอื่น ๆ) โดยไม่มีวันหมดอายุ ซึ่งแตกต่างจากสัญญาฟิวเจอร์สแบบดั้งเดิม ทำให้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาเป็นที่นิยมในตลาดคริปโต
คุณสมบัติสำคัญ
เลเวอเรจเป็นคุณสมบัติหลักในตราสารอนุพันธ์ทั้งสามประเภทซึ่งได้แก่ ฟิวเจอร์ส ออปชั่น และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์สามารถควบคุมโพซิชั่นที่มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้นด้วยเงินทุนที่น้อยลง อย่างไรก็ตาม วิธีการทำงานของเลเวอเรจและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจะแตกต่างกันไปตามตราสารอนุพันธ์แต่ละประเภท ดังนั้นเราลองมาแยกการใช้งานแต่ละประเภท พร้อมกับดูตัวอย่างประกอบ
1. สัญญาฟิวเจอร์ส
2. สัญญาออปชั่น
3. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา
การเทรดอนุพันธ์คริปโตด้วยเลเวอเรจสามารถให้ผลตอบแทนสูง แต่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้ก็อาจทำให้ขาดทุนได้อย่างมากหากไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม เนื่องจากเลเวอเรจช่วยให้เทรดเดอร์สามารถควบคุมโพซิชั่นที่ใหญ่กว่าเงินทุนที่มีอยู่ได้ การเคลื่อนไหวของราคาเพียงเล็กน้อยในตลาดก็สามารถส่งผลให้เกิดผลกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนมากได้ ในการรับมือกับสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูงนี้ เทรดเดอร์จะใช้เทคนิคการจัดการความเสี่ยงหลายแบบที่มีการออกแบบมาเพื่อปกป้องทุน ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด และลดโอกาสที่โพซิชั่นของพวกเขาจะถูกบังคับปิด นี่คือกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่พบบ่อยและมีประสิทธิภาพในการเทรดคริปโตด้วยเลเวอเรจ:
1. การควบคุมเลเวอเรจ
2. การกระจายความเสี่ยง
3. การใช้F unding Rate ให้เป็นประโยชน์ (สำหรับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา)
4. ติดตามราคาบังคับปิดโพซิชั่น
5. การหลีกเลี่ยงการเทรดมากเกินไป
6. การเฮดจิ้ง
การเฮดจิ้งจะชดเชยผลการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นโดยการเปิดโพซิชั่นตรงกันข้ามบนสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กัน แม้ว่ามันอาจไม่ได้ทำให้ได้กำไรแต่มันก็ช่วยปกป้องพอร์ตการลงทุนของเทรดเดอร์จากการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งจะลดความเสี่ยงลง สิ่งนี้มีความสำคัญมากในตลาดคริปโตที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคาที่รุนแรง และอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อารมณ์ตลาด การเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ หรือแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค ด้านล่างนี้เป็นกลยุทธ์การเฮดจิ้งที่พบได้บ่อยซึ่งเทรดเดอร์นำมาใช้ในตลาดคริปโตที่มีความผันผวน
1. การใช้สัญญาฟิวเจอร์ส
หากคุณเป็นเจ้าของสินทรัพย์คริปโตและกังวลว่าราคาจะลดลง คุณสามารถขายสัญญาฟิวเจอร์สเพื่อล็อกราคาปัจจุบันได้ หากราคาลดลง กำไรจากสัญญาฟิวเจอร์สจะชดเชยผลการขาดทุนจากการถือครองสินทรัพย์คริปโต การเฮดจิ้งด้วยสัญญาฟิวเจอร์สเหมาะสำหรับการล็อกราคาขายในอนาคตหรือลดความเสี่ยงในตลาดที่ผันผวนสูง
2. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาเป็นสัญญาฟิวเจอร์สประเภทหนึ่งที่ไม่มีวันหมดอายุ ทำให้สามารถใช้ในการป้องกันความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง หากคุณถือโพซิชั่น long ของคริปโต คุณสามารถเปิด short โดยใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลดลงของราคา สัญญาประเภทนี้ไม่มีวันหมดอายุ ซึ่งทำให้คุณสามารถเฮดจิ้งได้นานเท่าที่คุณต้องการ สัญญาประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับพอร์ตระยะยาวเพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการต่อสัญญา
3. สัญญาออปชั่น
คุณสามารถป้องกันความเสี่ยงด้วยสัญญาออปชั่นได้สองวิธี: การซื้อออปชั่น Put ซึ่งให้สิทธิ์ในการขายสินทรัพย์ตามราคาที่กำหนดไว้เพื่อป้องกันการลดลงของราคา และการขายออปชั่น Call ซึ่งจะสร้างรายได้ค่าพรีเมียมที่ช่วยลดการขาดทุนในโพซิชั่น Long สัญญาออปชั่นจึงเหมาะสำหรับการป้องกันความเสี่ยงที่มีความยืดหยุ่นพร้อมกับการจำกัดความเสี่ยง เนื่องจากผลขาดทุนสูงสุดจะเป็นเพียงค่าพรีเมียมที่จ่ายไปสำหรับสัญญาอนุพันธ์
4. กลยุทธ์ Delta-Neutral
กลยุทธ์ Delta-Neutral จะเกี่ยวข้องกับการสร้างพอร์ตที่ค่าเดลตา ซึ่งเป็นความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของสินทรัพย์อ้างอิง รวมเป็นศูนย์ หมายความว่ามูลค่าของพอร์ตจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของราคาเพียงเล็กน้อย คุณสามารถมี delta-neutrality ได้โดยการผสมผสานโพซิชั่น long และ short ในตลาดฟิวเจอร์สหรือออปชั่น ตัวอย่างเช่น การถือโพซิชั่น long ใน Bitcoin และเปิด short ในฟิวเจอร์สของ Bitcoin หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาที่มีขนาดเดียวกันในทิศทางตรงข้าม กลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาที่ไม่มากและยังคงสามารถทำกำไรจากความผันผวนหรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น funding rate
5. การเฮดจิ้งข้ามสินทรัพย์
การเฮดจิ้งโพซิชั่นคริปโตโดยใช้สินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กันหรือเคลื่อนไหวตรงข้ามเรียกว่า การเฮดจิ้งข้ามสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเฮดจิ้งโพซิชั่น long ใน Bitcoin โดย short เหรียญที่เกี่ยวข้อง เช่น Ethereum หรือหากคุณมีมุมมอง bullish ต่อคริปโตแต่รู้สึกกังวลเกี่ยวกับความผันผวนระยะสั้น คุณสามารถถือ Bitcoin และเฮดจิ้งด้วยโพซิชั่น short ของทองคำซึ่งมักจะเคลื่อนไหวตรงข้ามกับคริปโต วิธีนี้เหมาะสำหรับการกระจายความเสี่ยงระหว่างสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ หรือเฮดจิ้งคริปโตที่มีความสัมพันธ์กัน
6. การแปลงเป็น Stablecoin
หากคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของตลาดคริปโตหรือคาดว่าราคาจะลดลง คุณสามารถแปลงคริปโตของคุณเป็น stablecoin ได้ วิธีนี้จะช่วยรักษามูลค่าพอร์ตของคุณในสินทรัพย์ที่มีความเสถียรโดยไม่ต้องออกจากระบบนิเวศคริปโต ซึ่งเหมาะสำหรับการเฮดจิ้งระยะสั้นต่อความผันผวนของตลาดหรือการรักษาผลกำไรแบบไม่ต้องแปลงเป็นเงินเฟียต
7. กลยุทธ์ Covered Call
กลยุทธ์ covered call เป็นการถือคริปโต เช่น Bitcoin และขายออปชั่น call ของสินทรัพย์นี้ คุณจะได้รับพรีเมียมจากการขายออปชั่น call ซึ่งสามารถชดเชยการลดลงของราคาสินทรัพย์อ้างอิงได้ หากราคาต่ำกว่าราคา strike คุณจะได้ทั้งพรีเมียมและคริปโต หากราคาสูงกว่าราคา strike คุณจะต้องขายคริปโตของคุณแต่ยังได้พรีเมียม เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการสร้างรายได้ในขณะถือครองคริปโต และทำการขายออปชั่นที่ราคาที่สูงกว่า
8. การอาบิทราจ Funding Rate (สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลา)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลามี funding rate ที่สามารถสร้างรายได้หรือเป็นค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของตลาด คุณสามารถใช้ประโยชน์จาก funding rate โดยการเฮดจิ้งโพซิชั่น long หรือ short โดยพิจารณาว่า funding เป็นบวก (long จ่าย short) หรือลบ (short จ่าย long) ตัวอย่างเช่น หาก funding rate สูง คุณสามารถเฮดจิ้งโพซิชั่น long ได้ด้วยการ short สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่จำกัดระยะเวลาเพื่อรับค่าธรรมเนียม การอาบิทราจ funding rate ช่วยลดค่าใช้จ่ายการถือครองโพซิชั่นหรือสร้างรายได้แบบพาสซีฟผ่านการจ่ายเงินค่าธรรมเนียม
9. การเฮดจิ้งดัชนีคริปโต
คุณสามารถเฮดจ์โพซิชั่นในตลาดคริปโตของคุณได้โดยการ short หรือใช้ออปชั่นบนดัชนีคริปโต ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าถึงตลาดในภาพกว้างได้ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงโดยไม่ต้อง short คริปโตรายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่มั่นใจว่าตัวไหนจะปรับตัวได้ดี การเฮดจิ้งดัชนีคริปโตจึงเหมาะสำหรับการลดความเสี่ยงในพอร์ตคริปโตทั้งหมดโดยไม่ต้องโฟกัสไปที่สินทรัพย์เพียงตัวเดียว
10. กริดเทรดดิ้ง
กริดเทรดดิ้งเป็นวิธีการส่งคำสั่งซื้อและขายที่บริเวณรอบ ๆ ระดับราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า หากคุณคาดว่าตลาดจะมีความผันผวนแต่ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับทิศทาง คุณสามารถเฮดจิ้งโพซิชั่นได้ด้วยการตั้งคำสั่ง long และ short ที่ราคาต่าง ๆ กลยุทธ์นี้ช่วยให้คุณทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาได้ในทั้งสองทิศทาง มันจึงเหมาะสำหรับตลาดที่มีความผันผวนในระยะสั้นและไม่มีทิศทางที่ชัดเจน
การเทรดอนุพันธ์คริปโตด้วยเลเวอเรจสามารถทำกำไรได้สูง แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากเช่นกัน เทรดเดอร์จำนวนมาก โดยเฉพาะมือใหม่ มักพลาดในเรื่องทั่วไป ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดทุนครั้งใหญ่ได้ การปกป้องกลยุทธ์ของคุณเมื่อเทรดอนุพันธ์คริปโตด้วยเลเวอเรจจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราลองมาดูกันว่ามีข้อผิดพลาดอะไรบ้างที่พบได้บ่อย
1. การใช้เลเวอเรจมากเกินไป
2. การละเลยการบริหารความเสี่ยง
3. การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับตราสาร
4. การไม่คำนึงถึงความผันผวน
5. การละเลย Funding Fees และวันหมดอายุ
6. การถือโพซิชั่นที่ใช้เลเวอเรจในช่วงที่สภาพคล่องต่ำ
7. การละเลยผลกระทบจากการบังคับปิดโพซิชั่น
8. การไม่ป้องกันความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
9. การไม่สนใจเหตุการณ์ภายนอกตลาด
แนวทางกำกับดูแลสำหรับอนุพันธ์คริปโตกำลังมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากรัฐบาลและหน่วยงานทางการเงินทั่วโลกกำลังพยายามสร้างแนวทางที่สมดุลระหว่างนวัตกรรม การคุ้มครองนักลงทุน และเสถียรภาพของตลาด เนื่องจากสกุลเงินดิจิทัลมีลักษณะแบบไม่มีศูนย์กลาง วิธีการกำกับดูแลจึงอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละเขตอำนาจศาล ตั้งแต่การแบนไปจนถึงการยอมรับอย่างเต็มรูปแบบในเชิงการกำกับดูแล
ตลาดการเงินทั่วสหภาพยุโรปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ‘European Securities and Markets Authority (ESMA)’ การกำกับดูแลของพวกเขาครอบคลุมการซื้อขายอนุพันธ์คริปโต โดยที่กรอบการกำกับดูแล MiCA (Markets in Crypto-Assets) มุ่งให้ความชัดเจนเกี่ยวกับสินทรัพย์คริปโตและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
กฎระเบียบในแอฟริกาแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศ บางประเทศยอมรับคริปโต ขณะที่บางประเทศห้ามใช้ ตัวอย่างเช่น แอฟริกาใต้ อนุญาตให้มีการซื้อขายอนุพันธ์คริปโตภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยแพลตฟอร์มต่าง ๆ จำเป็นต้องปฏิบัติตามแนวทางของ Financial Sector Conduct Authority (FSCA) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2022 สินทรัพย์คริปโตถูกจัดเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินตามกรอบกำกับดูแลที่ระบุไว้ใน Financial Advisory and Intermediary Services Act (FAIS)
ในภูมิภาคนี้ โบรกเกอร์และสถาบันต่าง ๆ ให้บริการเข้าถึงตลาดคริปโตภายใต้การกำกับดูแลจากหน่วยงานผู้กำกับดูแลอย่างเข้มงวด ตัวอย่างเช่น ในญี่ปุ่น การซื้อขายอนุพันธ์คริปโตอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Financial Services Agency (FSA) ซึ่งมีกรอบการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่ง แพลตฟอร์มซื้อขายจะต้องลงทะเบียนกับ FSA และปฏิบัติตามข้อกำหนด KYC (Know Your Customer) มาตรการต่อต้านการฟอกเงิน (AML) และข้อกำหนดด้านเงินทุนเพื่อดำเนินการในประเทศนี้
โบรกเกอร์ที่ดำเนินงานอยู่ในสิงคโปร์ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดโดย Monetary Authority of Singapore (MAS) ซึ่งกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งหมดและอนุญาตให้มีการซื้อขายอนุพันธ์คริปโตผ่านบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตและปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศ แม้จะไม่มีข้อจำกัดเฉพาะเกี่ยวกับเลเวอเรจ แต่แพลตฟอร์มต่าง ๆ จะต้องปฏิบัติตามแนวทางการจัดการความเสี่ยงทั่วไป
ฮ่องกงมีการกำกับดูแลบริการทางการเงินโดย Securities and Futures Commission (SFC) โดย SFC กำหนดให้แพลตฟอร์มที่ให้บริการอนุพันธ์คริปโตต้องลงทะเบียนและปฏิบัติตามแนวทางที่เข้มงวด เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบดั้งเดิม เริ่มตั้งแต่ปี 2020 หน่วยงานทางการเงินได้บังคับใช้กฎระเบียบที่กำหนดให้แพลตฟอร์มคริปโตทั้งหมดที่ดำเนินงานอยู่ในประเทศนี้จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลักทรัพย์
แม้ว่าการซื้อขายคริปโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่จีนได้ใช้แนวทางที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยห้ามไม่ให้มีการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลทุกรูปแบบในปี 2021 มาตรการนี้ถูกกำหนดขึ้นโดย People’s Bank of China (PBoC) และขยายไปถึงตลาดทั้งภายในประเทศและแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ดำเนินงานอยู่ในประเทศจีน